วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

พระธาตุนาดูน

         


               พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร
       

          

ความเป็นมาของพระธาตุนาดูน
        อำเภอนาดูน เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน โดยบริเวณที่ตั้งของอำเภอนาดูนคือ เมืองจัมปาศรีที่เจริญรุ่งเรือนในสมัยทวารวดี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ค้นพบมากมาย สรุปความดังนี้
ถิ่นฐานอารยธรรมจัมปาศรีในอดีตกาล สันนิษฐานได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค คือ
1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ. 1000-1200
2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800
ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ภายในตัวเมืองและนอกเมืองมีเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ 25 องค์ (ขณะนี้ได้ขุดค้นพบแล้ว 10 องค์) เจ้าผู้ครองเมืองนครจำปาศรี นับตั้งแต่ พระเจ้ายศวรราช ได้สร้างสถานที่สักการะบูชาในพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ เช่น เทวาลัย ปรางค์กู่ เป็นต้น ซึ่งถือว่าได้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านศาสนา วัฒนธรรม และการปกครอง จนถึงขีดสุดแล้วได้เสื่อมถอยลงจนถึงยุคอวสานในสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าธรณี

ค้นพบและการก่อสร้างพระธาตุนาดูน
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 ได้ขุดค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปทำด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ตัวสถูปหรือองค์ระฆัง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตัวสถูป เป็นส่วนที่บรรจุ พระอังคาร (ขี้เถ้า) เทียนดอกไม้ ตอนคอสถูปเป็นส่วนที่บรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุโดยผอบจะบรรจุพร้อมกัน 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบเงิน ผอบเงินจะซ้อนอยู่ในผอบทองสำริด ทุกผอบมีฝาปิดมิดชิด ภายในผอบทองคำมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ 1 องค์ มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่นขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมันจันทน์เมื่อเปิดออกมาจะมีกลิ่นหอมมาก
2. ส่วนยอดทำด้วยทองสำริดกลมตัน ทำเป็นปล้องไฉนลูกแก้วและปลียอด ตอนต้นทำเป็นเกลียวสามารถปิดประกอบกับส่วนตัวองค์สถูปได้พอดี
พระธาตุนาดูน จำลองแบบสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นศิลปะทวารวดี ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2530 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุนาดูน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2530

ประวัติความเป็นมาของเมืองนครจัมปาศรี
                 นครจัมปาศรีมีประวัติอันยาวนานนับเป็นพันปี และได้ถูกเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จะเนื่องจากวิกฤตการณ ์หรือเหตุผล ใดก็ ไม่อาจจะทราบได้ จะอย่างไรก็ตามก็ยังมีเค้าเงื่อนพอที่จะสอบค้นได้บ้างจากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยเฉพาะอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นที่ตั้งนครจัมปาศรี มีโบราณสถานหลายแห่ง และมีโบราณวัตถุหลากหลายชนิด สามารถสอบค้นและเปรียบเทียบอายุสมัยลักษณะเผ่าพันธุ์ ตลอดจนการดำรงชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพชนในถิ่นแถบนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นตำราเอกสารอื่นๆ พอที่จะอ้างอิงเทียบเคียงได้ด้วย
จากข้อสันนิษฐานของ อาจารย์สมชาย ลำดวน ภาควิชาภาไทย และภาษาตะวันออก คณะมนุนยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ) สันนิษฐานได้ว่า วัดนครจัมปาศรีมีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ด้วยกันคือ
1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ.1000-1200
2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800
นครจำปาศรีสมัยทวารวดีมีหลักฐานเด่นชัดคือ
1.       หลักฐานจากพระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบจากกรุต่างๆ ในเขตพื้นที่นครจัมปาศรี ทางด้านมนุษยวิทยาทางกายภาพ จะเห็นว่าลักษณะพระพักต์และพระวรกายของพระพิมพ์ เป็นชนพื้นเมืองสยามโบราณฉะนั้นคนที่เราอาศัยอยู่ในนครจัมปาศรีจึงเป็นเชื้อชาติสยามพื้นเมืองดึกดำบรรพ์ นอกจากนั้นยังสังเกตุพระพุทธศิลป์ร่วมสมัยกับพระพิมพ์ แบบพระประถมทำขึ้นประมาณ พ.ศ. 950-1250 โดยจารึกอักษรคฤนต์ หรืออักษรขอมโบราณไว้ด้วยพระพิมพ์ดินเผานาดูนปางประทานพรหรือปางทรงแสดงธรรมบางองค์ที่ ขุดพบที่กรุพระธาตุก็มีอักษรคฤนถ์ทั้งขีดและเขียนด้วยสีแดงจารึกไว้บนแผ่นหลังของพระพิมพ์เหมือนกัน อาจารย์สทชาย ลำดวน ได้เรียนถาม ศจ.ดร.จิตร บัวบุศย์ ราชบัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คระมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) เกี่ยวกับอายุนครจัมปาศรี ว่ามีอายุเก่าแก่แค่ไหน ได้รับคำตอบว่า " อันนี้เราต้องเทียนจากศิลปะอินเดีย ก็เริ่มจากคุปตเริ่มแรก สำหรับที่นครจัมปาศรีจะมีอายุระหว่าง 900 ถึง 1800 "
2. หลักฐานทางสถูปเจดีย์ ศจ.ดร.จิตร บัวบุศย์ กล่าวว่าเจดีย์ส่วนใหญ่ฐานนั้นจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้นมาจากฐานอุบลมณฑล ซึ่งเป็นต้นแบบนิยมสร้าง กัน ในสมัยคลื่นที่ 3 ของพระพุทธศาสนา ( รุ่งเรืองอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 13 ) ที่เข้าสู่ประเทศสยามและนครจัมปาศรีก็ได้รับอิทธฺพลศิลปวัฒนธรรมในคลื่นนี้ด้วย
นครจัมปาศรีเจริญรุ่งเรืองในสมัยลพบุรี ซึ่งมีหลักฐานยืนยัน ดังนี้
1. หลักศิลาจารึก 14 บรรทัดที่ขุดพบที่ศาลานางขาว ในเขตนครจัมปาศรี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ขอนแก่น
2. ศิลปะวัตถุต่างๆ ทั้งสมบูรณ์และแตกหักที่ขุดพบและแตกกระจายในเขตนครจัมปาศรี เช่น พระวัชรธร พระอิศวร พระนารายณ์ เศียร พระกร และอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
3. โบราณสถาน เช่น กู่สันตรัตน์ กู่น้อย และศาลานางขาว
หลักศิลาจารึก ศิลปวัตถุ และโบราณสถานเหล่านี้ล้วนเป็นศิลปกรรมของขอมสมัยลพบุรีทั้งสิ้น เช่นกู่สันตรัตน์ กู่น้อย ซึ่งเป็นศิลปะแบบบายน
(ศิลปแบบบายน พ.ศ. 1724-ราว พ.ศ. 1780) ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของขอมข้อมูลและหลักฐานเหล่านี้ชี้ได้ชัดเจนว่า นครจัมปาศรีได้เจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ดังที่กล่าวแล้ว
พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ศูนย์วัมนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัยจังหวัดมหาสารคาม ได้เขียนประวัตินครจัมปาศรีไว้ในหนังสือที่ระลึก เนื่องในงาน ทอดกฐินพระราชทานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ) มีข้อความว่า" ในปี พ.ศ. 2492 ท่านเจ้าคุณได้เดินทางไปร่วมฉลองวัด หนองทุ่ม ตำบลนาดูน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ( ตำบลนาดูนเมื่อก่อนขึ้นกับอำเภอวาปีปทุม ปัจจุบันเป็นอำเภอนาดูน ) ได้มีโยมผู้เฒ่าบ้านสระบัว อายุประมาณ 80 ปี ได้ไปร่วมฉลองวัดหนองทุ่มด้วย และได้นำหนังสือก้อม ( หนังสือใบลานขนาดสั้น ) ประวัตินครจัมปาสรี กู่สันตรัตน์ ถวายท่านเจ้าคุณ เมื่อท่านเจ้าคุณได้อ่านหนังสือก้อมแล้ว จึงได้มอบถวายพระครูอนุรักษ์บุญเกต ( เสาโสรโต )
ซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบลนาดูนและเป็นผู้สร้างวัดหนองทุ่ม ต่อมาพระครูอนุรักษ์บุญเขตได้มรณะภาพในปี พ.ศ. 2498 หนังสือก้อมดังกล่าวได้สูญหายไปไม่สามารถจะค้นพบได้จะอย่างไรก็ตาม ท่านเจ้าคุณก็ได้เขียนประวัตินครจัมปาศรีไว้ว่านครจัมปาศรีอยู่ในสมัยมที่ศาสนาพุทธและศษสนา พราหมณ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในประเทศนี้ บันดาหัวเมืองน้อยใหญ่ในสมัยนั้นพร้อมกันมานพน้อมเป็นบริวารและต่างก้พร้อมใจกันมาทำค่ายคูเมือง เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู และเพื่อป้องกันบ้านเมืองให้ได้รับความผาสุข ในการใ ช้ตะพัง บึง หนอง ได้สะดวกและใช้เป็นตะพังชุบศรเมื่อเกิดศึกสงคราม
พระยศวรราชเจ้าผู้ครองนครจัมปาศรี อันมีพระนางยศรัศมีเป็นพระราชเทวา มีวงศ์ตระกูลมาจากกษัตริย์เจ้าจิตเสราชา บ้านเมืองขระนั้นมีความสงบสุขและศาสนาพุทธ เจริญรุ่งเรืองในช่วงนั้น มีศัตรูอยู่ทางทิศใต้คือ กษัตริย์วงศ์จะนาศะ แต่ก็ไม่สามารถเข้าทำลายได้เท่าใดนัก
พระราชาผู้ครองนครจัมปาศรี ตั้งแต่พระเจ้ายศวราชมาโดยลำดับได้สร้างเทวาลัย ปางค์กู่ มีกู่สันตรัตน์ กุ่น้อย และศาลานางขาวเป็นต้น เพื่อเป็นสถานที่ศักการบูชา ในพิธีกรรมตามธรรมเนียมในศาสนาพรามณ์และศาสนาพุทธตามลำดับ
นครจัมปาศรีอยู่ในยุคร่วมสมัยเดียวกับเมืองศรีโคตรบูร เมืองหนองหานหลวง เมืองหนองหานน้อย เมืองสาเกตุหรือร้อยเอ็ดประตูเมืองกุรุนทะนครหรืออโยธยา เมืองอินทปัฐนคร และเมืองจุลมณี ในพุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับราชกาลของพระเจ้าสุมินทราชหรือสุมิตตธรรมวงศาธิราชแห่งอาณาจักรโคตระบอง (ศรโคตรบูล) ได้ขยาย อาณาเขตครอบคลุมหัวเมืองน้อยใหญ่จากหนังสือพระธาตุเจดีย์วัดสำคัยและพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ด พิมพ์ไดยกระทรวงธรรมการของประเทศลาว เมื่อ พ.ศ. 2517 เรื่องประวัติพระธาตุสีโคตะบอง
 ในหนังสืออุรังคธาตุได้กล่าวถึงแคว้นสำคัญไว้ 7 แคว้นด้วยกันคือ
1. แคว้นศรีโคตรบูล เดิมอยู่ใต้ปากเซบั้งไฟ มีพระยาศาสีโคตรบองเป็นผู้ครอง ต่อมาได้ย้ายมาฝั่งธาตุพระพนม ณ ดง ไม้ลวกได้ให้ขื่อเมืองใหม่ว่า " มรุกขนคร " มีพระยานันทเสนเป็นผู้ครอง
2. แคว้นจุลมณี คือดินแดนแคว้นตังเกี๋ย มีพระยาจุลมณีพรหมทัตเป็นผู้ครอง
3. แคว้นหนองหานหลวง คือบริเวณที่จังหวัดสกนครมีพระยาสุรรณภิงคารเป็นผู้ครอง
4. แคว้นอินทปัฐ คือดินแดนเขมรโบราณ มีพระยาอินทปัฐเป็นผุ้ครอง
5. แคว้นหนองหานน้อย คือบริเวณอำเภอหนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีพระยาคำแดงเป็นผู้ครอง
6. แคว้นสาเกต หรือเมืองร้อยเอ็ดประตูมีพระยาสาเกตเป้นผู้ครอง(เดิมอยู่ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม)

    พระกรุนาดูน หรือ พระกรุพระธาตุนาดูน พุทธศิลปะทวารวดี
         พระกรุนาดูน หรือ พระกรุพระธาตุนาดูน ที่คนร้ายโจรกรรมไปนั้น เป็นพระที่รู้จักกันกว้างขวางในหมู่นักเล่นพระและ ผู้นิยมสะสมพระเครื่อง โดยแตกกรุในปี พ.ศ. 2522 ที่ ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ซึ่งกรมศิลปากรร่วมกับราษฎรได้ช่วยกันขุดค้นบูรณะบริเวณท้องนาของชาวบ้าน โดยพบหลักฐานว่าเป็นแหล่งโบราณคดีมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 มีร่องรอยของเมืองโบราณยุคทวารวดี เรียกกันโดยทั่วไปว่า นครจัมปาศรี
       ในการขุดค้นครั้งนั้น มีการพบโบราณวัตถุ ตลอดจน พระพุทธรูปพระพิมพ์ ศิลปะทวารวดี จำนวนมากมายหลายชิ้น ที่สำคัญก็คือพบพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในผอบ ประดิษฐานในองค์พระสถูปทรงระฆังจำลองสูง 24.4 เซนติ เมตร สามารถถอดแยกได้เป็นสองส่วน ซึ่งต่อมามีการจัดสร้างเป็นองค์พระธาตุนาดูนขึ้น และพบพระพิมพ์ดินเผาที่เป็นส่วนผสมระหว่าง ดิน เหนียว ศิลาแลง แกลบ ทราย และกรวด จำนวนหนึ่ง พระพิมพ์ที่พบส่วนใหญ่ จะแสดงให้เห็นถึงศิลปะทวารวดีอันเป็นรากฐานการเผยแพร่พระพุทธศาสนาคติหินยานในบริเวณสุวรรณภูมิอย่างชัดเจน
         องค์พระส่วนมากจะเป็นพระแผง ซึ่งหมายถึง พระพิมพ์ขนาดเขื่องใหญ่กว่าฝ่ามือ และมีองค์พระพุทธปรากฏอยู่หลายองค์ ศิลปะแสดงให้เห็นอิทธิพลของมอญทวารวดีที่เผยแพร่จากภาคกลางและกระจายตัวอยู่ในแถบภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาอย่างเด่นชัด มีการพบพระพิมพ์ต่างๆ ที่เรียกกันว่า กรุนาดูน ถึง 40 กว่าพิมพ์ บ้างทำเป็นองค์พระพุทธรูปนั่งบนบัลลังก์ ที่เรียกกันว่าพระนั่งเมือง บ้างทำเป็นพระพุทธรูปยืนในลักษณาการตริภังค์ อันหมายถึงการผ่อนคลายอิริยาบถสามส่วน ได้แก่ การหย่อนไหล่ การหย่อนสะโพก และการหย่อนหัวเข่า ปรากฏในรูปพระลีลา
        นอกจากนี้ยังมี พระนาคปรก มีทั้งปรกคู่และปรกเดี่ยว บางครั้งพบว่ามีการนำพระแผงมาตัดให้เล็กลงเหลือเฉพาะองค์ก็มี การพบพระกรุนาดูนในระยะแรกนี้นั้น ปรากฏว่ามีพระจำนวนมากที่ชาวบ้านแห่พากันเข้ามาขุดค้น จึงทำให้พระกรุนาดูนแพร่หลายเข้าสู่วงการพระและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง บางส่วนกรมศิลปากรได้เก็บรวบรวมไว้ และเนื่องจากเห็นว่า ขอนแก่นเป็นจังหวัดใหญ่ และมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่มีความแน่นหนาและมั่นคง จึงเก็บรวบรวมพระนาดูนจำนวนหนึ่งไว้ที่ขอนแก่น แต่แล้วก็มาถูกโจรกรรมชนิดกวาดเกลี้ยงทั้งกรุ สร้างความเสียดายในการสูญเสียสมบัติสำคัญของชาติเป็นอย่างยิ่ง
              ในราวปี พ.ศ.2540 ก็มีข่าวว่ากรุนาดูนแตกส่งผลให้ชาวบ้านแห่กันเข้าไปขุดหาพระกรุนี้กันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสำหรับสนนราคาของพระกรุนาดูน ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคามนั้น แม้ว่าจะเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางเนื่องจากมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และมีพุทธศิลปะทวารวดีที่มีลักษณะเฉพาะตัว แต่เนื่อง จากองค์พระมีขนาดเขื่อง และปรากฏในรูปของพระแผงจึงทำให้ราคาไม่สูงมากนัก ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับหลักพันถึงหลักหมื่น แต่พุทธคุณซึ่งขึ้นชื่อทางด้านแคล้วคลาดและเมตตามหานิยมทำให้มีผู้สนใจเสาะแสวงหามาเก็บสะสมพอสมควร บางครั้งถึงขนาดทำเทียมเลียนแบบขึ้นมาด้วย

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติจังหวัดมหาสารคาม


ประวัติจังหวัดมหาสารคาม

หอนาฬิกา จังหวัดมหาสารคาม
มหาสารคามได้รับการแต่งตั้งเป็นเมือง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2408 แต่ก่อนจะตั้งเป็นเมืองมหาสารคามนั้น บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์มานาน บางยุค บางสมัยก็รุ่งเรือง บางยุคสมัยก็เสื่อมโทรม ตามบันทึกของหลวงอภิสิทธิ์สารคาม (บุดดี) ตลอดจนประวัติศาสตร์ภาคอีสานและเมืองมหาสารคาม ของ บุญช่วย อัตถากร ระบุว่า ท้าวมหาชัย (กวด) พาผู้คนออกจากเมืองร้อยเอ็ดมาทางทิศตะวันตก ประมาณ 1,000 เส้น จึงหยุดตั้งอยู่บริเวณที่ดอน แต่ราษฎรนิยมเรียกว่า “วัดข้าวฮ้าว” อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน เห็นว่าขาดแคลนแหล่งน้ำ จึงย้ายมาตั้งระหว่างกุดยางใหญ่กับหนองท่ม ซึ่งเป็นที่ชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่บ้างแล้ว คือ บ้านจาน ประกอบกับห่างออกไปเล็กน้อยก็เป็นห้วยตะคาง จึงนับว่าเป็นชัยภูมิที่มีแหล่งน้ำสมบูรณ์ เมืองมหาสารคามเมื่อแรกตั้งอยู่ในความดูแลบังคับบัญชาของพระขัติยวงษา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นผู้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอรับพระราชทาน “บ้านลาด กุดยางใหญ่” เป็นเมือง ของท้าวมหาชัย (กวด) เป็นเจ้าเมือง
ราชสำนักได้มีสารตรามาถึงพระขัติยวงษา (จัน) ลงวันอังคาร เดือน 10 ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช 1227 ซึ่งตรงกับวันที่ 22 สิงหาคม 2408 ดังข้อความตอนหนึ่งว่า
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสว่า ซึ่งเจ้าพระยาภูธราภัย ฯ พร้อมกับเจ้าพระยานครราชสีมาไล่เลียงแลทำแผนที่เมืองจะตั้งใหม่ เห็นการไม่เกี่ยวข้องแก่บ้าน แก่เมืองใดแล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ขนานนามบ้านลาดกุดยางไย เป็นเมืองมหาษาร ตามพระราชทานนามสัญญาบัติ ประทับพระราชลัญจกอร ตั้งท้าวมหาไชยเป็นที่พระเจริญราชเดช เจ้าเมือง ทำราชการขึ้นแก่เมืองร้อยเอ็ด ให้พระราชทานท้าวมหาไชย ผู้เป็นที่พระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคาม
เมืองมหาสารคาม นับเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมของชาวอีสาน มีชุมชนโบราณมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านเชียงเหียน หมู่บ้านปั้นหม้อของชาวบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคามแหล่งโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนาก็มี พระธาตุนาดูน กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน กู่บ้านแดง อำเภอวาปีปทุม ปรางค์กู่ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม ที่น่ามาศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันจังหวัดมหาสารคามเป็นเมือง ตักสิลา เมืองการศึกษาของชาวเมืองตักสิลา เมืองการศึกษาของชาวอีสาน มีทั้ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยอาชีวศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาอุดมศึกษาของภาคเอกชน ซึ่งในช่วงเปิดภาคเรียนจังหวัดมหาสารคาม จะครึกครื้นไปด้วยนักศึกษาจากต่างถิ่นที่มาศึกษาหาความรู้จากสถานศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัดมหาสารคาม


ที่มา; http://www.sarakham.com/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A1/